วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงผลกระทบจากการบุกรุกทำลายป่าไม้ของประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้ง พื้นที่ต้นนํ้าลำธารเสื่อมโทรม ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นปัญหาทุกข์ร้อนของประชากรส่วนใหญ่ในชนบท พระองค์ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ให้คืนกลับสู่สภาพธรรมชาติด้วยแนวทางผสมผสาน โดยการปลูกไม้ทดแทนควบคู่กับการพัฒนาอาชีพราษฎร
ด้วยการวางแผนร่วมมือกันของทุกส่วนราชการ ในการดำเนินการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อม
         การปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 ประการ ตามแนวพระราชดำรินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทาน
พระราชดำริ ไว้เมื่อปี 2519 ณ หน่วยพัฒนาต้นนํ้าทุ่งจ๊อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ว่าการปลูกไม้ 3 อย่าง คือ ไม้ผล
ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของรัฐและวิถีประชาในชุมชนอันเป็นทฤษฎีการปลูกต้นไม้ลงในใจคน โดยการปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนให้ปลูกต้นไม้ลงแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง
         
และในการฟื้นฟูพื้นที่ต้นนํ้าตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ซึ่งพระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เพื่อศึกษาหารูปแบบในการพัฒนาที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นนํ้าลำธารนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริ แนวทางในการปลูกไม้ฟื้นฟูสภาพป่าต้นนํ้าว่า การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ให้ปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ หรือ ไม้ผล
ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืน ซึ่งจะให้ประโยชน์ 4 ประการ คือ ได้ใช้สอยและเศรษฐกิจ ไม้ฟืน ไม้กินได้ และประการสุดท้าย คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นนํ้าลำธารด้วย
ลักษณะเป็นสวนป่าที่มีต้นไม้เรียงเป็นแถว
ประเภทไม้ 3 อย่างที่เหมาะสมแก่การใช้ปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นให้ใช้พันธุ์ไม้ที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น เพราะเป็นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่อยู่แล้ว ไม่เป็นการเสี่ยงต่อภาวะการรอดตายและการเจริญเติบโต เป็นและที่รู้จักของราษฎรในท้องถิ่นอย่างดี พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูกไม้ป่าดังกล่าว ควรเป็นพื้นที่ที่มีสภาพเสื่อมโทรม หรือเป็นบริเวณป่าเพื่อการพึ่งพิงของราษฎรที่อยู่บริเวณใกล้ๆหมู่บ้าน วิธีการปลูกก็ให้ปลูกเสริมในลักษณะธรรมชาติ โดยไม่จับต้นไม้เข้าแถว ซึ่งการปลูกเสริมตามลักษณะธรรมชาตินี้ เมื่อต้นไม้โตขึ้นก็จะมีสภาพเป็นป่าตามธรรมชาติ โดยจะไม่มี
ไม้ 3 อย่าง
         ลักษณะไม้ 3 อย่าง เป็นชนิดไม้ที่มีความสัมพันธ์เกื้อกูลกับวิถีชีวิตของชุมชน คือ
         
1. ไม้ใช้สอยและเศรษฐกิจ เป็นชนิดไม้ที่ชุมชนนำไปใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน โรงเรือน เครื่องเรือน คอกสัตว์
เครื่องมือในการเกษตร เช่น เกวียน คันไถ ด้ามจอบ เสียม และมีด รวมทั้งไม้ที่สามารถนำมาทำเป็นเครื่องจักรสาน กระบุง ตะกร้าเพื่อนำไปใช้นำครัวเรือน และเมื่อมีพัฒนาการทางฝีมือก็สามารถจัดทำเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งเรียกว่า เป็นไม้เศรษฐกิจของชุมชน ได้แก่ มะขามป่า สารภี ซ้อ ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง มะแฟน สัก ประดู่ กาสามปีก จำปี จำปา ตุ้ม ทะโล้ หมี่ ยมหอม กฤษณา นางพญาเสือโคร่ง ไก๋ คูณ ยางกราด กระถิน เก็ดดำ มะหาด ไม้เติม มะห้า มะกอกเกลื้อน งิ้ว ตีนเป็ด ยมหอม มะขม มะแข่น สมอไทย ตะคร้อ เสี้ยว บุนนาค ปีบ ตะแบก ตอง คอแลน รัง เต็ง แดง พลวง พะยอม ตะเคียน ฮักหลวง เป็นต้น
   2. ไม้ฟืนเชื้อเพลิงของชุมชน ชุมชนในชนบทต้องใช้ไม้ฟืน เพื่อการหุงต้มปรุงอาหาร สร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว
สุมควายตามคอก ไล่ยุง เหลือบ ริ้น ไร รวมทั้งไม้ฟืนในการนึ่งเมี่ยง และการอบถนอมอาหาร ผลไม้บางชนิด ไม้ฟืนมีความ
จำเป็นที่สำคัญ หากไม่มีการจัดการที่ดีไม้ธรรมชาติที่มีอยู่จะไม่เพียงพอในการใช้ประโยชน์ ความอัตคัดขาดแคลนจะเกิดขึ้น
ดังนั้นจะต้องมีการวางแผนการปลูกไม้โตเร็วขึ้นทดแทนก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ฟืนใช้ได้อย่างเพียงพอ ได้แก่ ไม้หาด สะเดา
เป้าเลือด มะกอกเกลื้อน ไม้เต้าหลวง กระท้อน ขี้เหล็ก ตีนเป็ด ยมหอม ลำไยป่า มะขม ดงดำ มะแขว่น สมอไทย ตะคร้อ
ต้นเสี้ยว บุนนาค ตะแบก คอแลน แดง เต็ง รัง พลวง ติ้ว หว้า มะขามป้อม แค ผักเฮือด เมี่ยง มะม่วงป่า มะแฟน กาสามปีก มันปลา นางพญาเสือโคร่ง มะมือ ลำไย รกฟ้า ลิ้นจี่
 3. ไม้อาหารหรือไม้กินได้ ชุมชนดั้งเดิมเก็บหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ ทั้งการไล่ล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร รวมทั้งพืชสมุนไพร อดีตแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอาหารเสริมสร้างพลานามัย การปลูกไม้ที่สามารถให้หน่อ
ใบ ดอก ผล ใช้เป็นอาหารได้ก็จะทำให้ชุมชนมีอาหารและสมุนไพร ในธรรมชาติเสริมสร้างสุขภาพให้มีกินมีใช้อย่างไม่ขาดแคลน ได้แก่ มะหาด ฮ้อสะพายควาย เป้าเลือด บุก กลอย งิ้ว กระท้อน ขี้เหล็ก มะขม มะแข่น สมอไทย ตะคร้อ เสี้ยว คอแลน ผักหวานป่า มะไฟ มะขามป้อม มะเดื่อ มะปีนดง เพกา แค สะเดา เมี่ยง มะม่วงป่า มะแฟน มะเม่า หวาย ดอกต้าง กระถิน
ก่อเดือย หว้า กล้วย ลำไย มะกอกเกลื้อน มะระขี้นก ประคำดีควาย ตะคร้อ กระบก ผักปู่ย่า มะเฟือง แคหางค่าง ขนุน มะปราง มะหลอด คอแลน มะเม่า ส้มป่อย
ประโยชน์ 4 ประการ
         ไม้ 3 อย่าง เมื่อปลูกไปแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ 4 ประการ คือ
         
1. ในสภาพปัจจุบันป่าไม้ลดลงเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง และเพียงพอ ดังนั้น เมื่อมีการปลูกไม้ที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติที่ดีเพื่อการใช้สอยและสามารถนำมาใช้เสริมสร้างอาชีพได้ โดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมและดูแลรักษาก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ไว้ใช้สอยอย่างไม่ขาดแคลน และจะไม่สร้างผลกระทบ
ต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และหากมีการปลูกในปริมาณที่มากพอ ชุมชนก็สามารถนำมาเสริมสร้างอาชีพเสริมได้ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมให้มีความอยู่ดีกินดีขึ้น
      2. ไม้ฟืนเป็นวัสดุเชื้อเพลิงพื้นฐานของชุมชน หากชุมชนไม่มีไม้ฟืนไว้สนับสนุนกิจกรรมครัวเรือน ชุมชนจะต้องเดือดร้อนและสิ้นเปลืองเงินทอง เพื่อการจัดหาแก๊สหุงต้ม หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาวัสดุเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ
 3. พืชอาหารและสมุนไพรรวมทั้งสัตว์แมลง ที่ชุมชนสามารถเก็บหาได้จากธรรมชาติจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าปลอดสารพิษ อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งถ้ามีปริมาณเกินกว่าที่ต้องการแล้วยังสามารถใช้เป็นสินค้าเสริมสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย



         4. เมื่อมีการปลูกไม้เจริญเติบโตเป็นพื้นที่ขยายมากเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเสริมคุณค่าป่าด้วยพันธุ์ต่างๆ ทำให้เกิดความหลากหลายและเป็นการอนุรักษ์ดินและนํ้า รวมทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ต้นนํ้าลำธาร
 
 

ประวัติกีต้าร์

กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
     ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก     หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
     อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย